วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ผักไฮโดรโพนิคส์ แม่โจ้ก้าวหน้านำปลูกบน ไม้ไผ่

"ใครว่าการปลูกผักไร้ดินลงทุนสูง"
"ผม Mr.Bantonpak ขอเชิญดูการพัฒนาของคนไทยครับ"
การปลูกพืชเทคนิคไฮโดรโพนิคส์เป็นเทคนิคการปลูกพืชในรูปแบบหนึ่ง...ซึ่งไม่ใช้ดินเป็นส่วนประกอบหลักเหมือนทั่วๆไปครับ ซึ่งโดยส่วนใหญ่ถูกปรับใช้ข้อจำกัดด้านพื้นที่หรือปัญหาสภาวะแวดล้อม ตัวอย่าง เช่น แหล่งน้ำไม่สมบูรณ์ จึงมีการออกแบบโรงเรือน และระบบการใช้น้ำ รวมถึงวิธีการควบคุมปริมาณธาตุอาหารให้แก่พืชได้อย่างเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและความต้องการของพืชแต่ละชนิด  และบัดนาวนักวิจัยด้านการเกษตร ได้สร้างวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นแหล่งการเรียนรู้แห่ง ศาสตร์ของเกษตร


ประเภท พืชไฮโดรโพนิคส์
แบ่งออกได้ 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ  
1. การปลูกพืชในสารละลาย (Water Culture)
2.ปลูกพืชในวัสดุปลูก (Sub strate Culture) 
3.ระบบปลูกให้รากลอยอยู่กลางอากาศ (Aeroponics)


โดยที่ รศ.ดร.เทพ พงษ์พานิช อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ บอกว่า ทีมงานวิจัยได้พยายามศึกษาเปรียบเทียบการปลูกพืชทั้ง 3 แบบนี้ เพื่อต้องการให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดและลดต้นทุนการผลิต โดยร่วมมือกับ โครงการหลวง สร้างชุดสาธิต...ปลูกผัก ไฮโดรโพนิคส์ขนาดใหญ่ มีความสูงกว่า 3 เมตร ซึ่ง ถือว่าใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ใช้ไม้ไผ่ที่นำมาจาก สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง และได้รับความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆมาร่วมออกแบบระบบ เพื่อเน้นให้เห็นว่าสามารถใช้วัสดุอุปกรณ์ที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นมาประยุกต์เพื่อประหยัดต้นทุนโรงเรือน และนำไปใช้ได้จริงในระดับครัวเรือนชุมชน เมื่อปลูกผักแล้วนำมาบริโภคเองอย่างปลอดภัยสอดคล้องกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงได้เป็นอย่างดี   และ รศ.ดร.อานัฐ ตันโช หัวหน้าโครงการปลูกพืชไฮโดรโพนิคส์  ยังได้กล่าวว่า คนส่วนใหญ่มักคิดว่าค่าใช้จ่ายในการสร้างโรงเรือนไฮโดรโพนิคส์มีราคาสูง หากเทียบเปรียบกับการปลูกพืชในดินตามปกติ อีกทั้งผู้ปลูกจะต้องมีความรู้ ด้านการจัดการและเทคโนโลยีที่สูงกว่า ทั้งที่จริงแล้วเป็น การควบคุมใช้ธาตุอาหารของพืช ได้ง่ายกว่าการปลูกในดิน สามารถควบคุมผลผลิตและระยะเวลาได้ ค่อนข้างแน่นอน ทำให้ ผลผลิตของไฮโดรโพนิคส์ ออกเร็วกว่าการปลูกในดินประมาณ 1 สัปดาห์ และยังช่วยลดค่าแรงงานในการเตรียมแปลงปลูก ไม่ต้องเสียค่ารถไถ และ ค่ากำจัดวัชพืช หากต้องการปลูกเพื่อการค้าควรมีการศึกษาตลาดผู้บริโภคหรือปลูกพืชชนิดที่ไม่ค่อยมีวางจำหน่ายในท้องตลาดหัวหน้าโครงการปลูกพืชไฮโดรโพนิคส์ กล่าวอีกว่า คำแนะนำสำหรับบางคนที่อาจมีความสงสัยเกี่ยวกับเรื่องสารตกค้าง วิธีรับประทานผักไฮโดรโพนิคส์ ไม่ว่าจะเป็นผักที่ซื้อมาหรือปลูกเองจากแปลง ให้นำผักไปแช่น้ำทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง ผักจะอิ่มตัวแล้ว คายสารที่ตกค้างออกมาได้หมด ทำให้สามารถบริโภค ได้อย่างปลอดภัย
ซึ่งข้อมูลเหล่านี้มีรายละเอียดให้ท่านที่สนใจด้วยเช่นเดียวกัน และนอกจากชุดสาธิตไม้ไผ่ขนาดยักษ์แล้ว ทีมงานวิจัยยังสร้างชุด ปลูกผักโฮโดรโพนิคส์ขนาดเล็ก จากไม้ไผ่ฝีมือของนักศึกษาใน ราคาต้นทุนไม่เกิน 500 บาท(ถูกจริงๆไม่อิงนิยาย) ซึ่งเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญยินดีให้ความรู้ และสอนวิธีการปลูกให้สามารถนำกลับไปปลูกที่บ้านได้ ดังนั้นหากต้องการปลูกผักกินเองก็สามารถซื้อชุดปลูกผักสำเร็จรูป ในแบบราคาย่อมเยานี้ไปปลูกหลังบ้านก็ได้เช่นกัน เพราะโรงเรือนไฮโดรโพนิคส์สามารถปลูกผักได้ทุกชนิดเหมือนการปลูกผักในดิน ทั้งผักพื้นบ้าน และ ผักเมืองหนาว ที่นำมาสาธิต เช่น ผักกาดแก้ว เนื่องจากเป็นที่นิยมในเมนูอาหารเพื่อสุขภาพอย่างสลัดผักนานาชนิด
แหล่งข่าว มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มูลนิธิโครงการหลวง ภาควิชาทรัพยากรดินและสิ่งแวดล้อม คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้

‘ปลูกผักไร้ดิน’

"วันนี้ Mr. Bantonpak จะพามาดูแนวโน้มของการปลูกผักไร้ดินกัน"

ยังไงกระแสรักสุขภาพของคนไทยก็ยังเป็นที่นิยมอยู่ คนไทยหันมาใส่ใจในเรื่องของการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพกันมาก ผักปลอดสารพิษจึงยังคงได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย และการปลูกผักแบบไม่ใช้ดิน หรือการปลูกผักไร้ดินก็เป็นอีก ช่องทางทำกินที่ดี ซึ่งก็มีอยู่หลายรูปแบบ
โดยวันนี้  Mr. Bantonpak  ก็มีข้อมูลการปลูก ระบบน้ำถาดไหลหมุนเวียนหรือ “Dynamic Root Floating Technique (DRFT)”
ซึ่งเป็นระบบปั๊มอากาศเข้าไปช่วยให้เกิดออกซิเจน รากพืชจะลอยไปมาในน้ำที่มีสารอาหาร    
คุณธวัชชัย สวรรยาวิสุทธิ์ เจ้าของชัยมงคลฟาร์ม ผู้ผลิตและจำหน่ายผักสดปลอดสารพิษ ที่ใช้ระบบน้ำถาดไหลหมุนเวียน เล่าว่า ก่อนที่จะมาจับธุรกิจปลูกผักปลอดสารพิษนั้น เคยทำงานเป็นพนักงานธนาคารมาก่อน แต่ด้วยความที่ต้องการที่จะมีธุรกิจเป็นของตัวเองจึงตัดสินใจลาออกมาประกอบธุรกิจส่วนตัว
การที่มาจับธุรกิจปลูกผักปลอดสารพิษก็เพราะเป็นคนที่ชอบอยู่กับธรรมชาติ มีสิ่งแวดล้อมที่ดี และต้องการให้ผู้อื่นมีสุขภาพที่ดี และช่วงนั้นคนนิยมรับประทานผักปลอดสารพิษกันมาก มีตลาดส่งที่แน่นอน จึงเลือกที่จะมาลงทำธุรกิจตัวนี้ ซึ่งก่อนที่จะมาทำธุรกิจปลูกผักไร้ดินยอมรับว่าไม่มีความรู้ทางด้านนี้มาเลย แต่พอเริ่มมีความคิดที่จะทำก็เริ่มศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมจากการอ่านหนังสือ และพยายามไปดูงานตามสถานที่ต่าง ๆ
จนมั่นใจว่ามีความรู้พอ จึงตัดสินใจลงมือทำช่วงแรกที่ลงทุนทดลองปลูก 4 แปลง เมื่อสินค้าออกวางตลาดก็ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี แต่ตลาดก็ยังอยู่ในวงที่ไม่กว้าง ต่อมาได้เข้าร่วมโครงการเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ก็ได้ความรู้ใหม่ ๆ เพื่อมาปรับปรุงในธุรกิจ และทำให้เริ่มมีช่องทางการตลาดมากขึ้น